วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บ้านขนมไทย ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง

บ้านขนมไทย แม่ผ่องพรรณ เป็นโรงงานผลิต ขนมไทย
ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง จำหน่าย ทั้งปลีก และ ส่ง
รสชาติ ไม่หวานมาก และ เป็นไข่เป็ด มากกว่าแป้งแน่นอน
ถ้าท่านชิมแล้วจะต้องติดใจ
จัดงานขึ้นบ้านใหม่ งานเลี้ยง กระเช้าของขวัญ
ทองหยิบ ราคากิโล ละ 140 บาท
ทองหยอด ราคากิโล ละ 140 บาท
เม็ดขนุน ราคากิโล ละ 140 บาท
ฝอยทอง ราคากิโล ละ 280 บาท
และยังมี ทองหยอดกรอบ ฝอยทองกรอบ รวมทั้งขนมไทยอีกมากมาย
ติดต่อ คุณ พักตร์พงค์ 085-1788849 หรือ email:sweetmeatthai@gmail.com
รับรองความอร่อย
food2
ขนมไทยของเรานั้น  นอกจากจะหอมหวาน  กินได้อร่อยแล้ว  ก็ยังมีความหมายที่เป็นมงคลอีกด้วย  วันนี้ทีมข่าวจะนำเสนอขนมไทยที่มีชื่อเป็นมงคล  และความหมายดีๆ  ของแต่ละอย่างมาเล่าให้ฟัง
เริ่มจากขนมไทยที่คุ้นเคยกันดีอย่าง  ทองหยิบ  ทองหยอด  และฝอยทอง  ซึ่งคำว่าทองในชื่อก็เป็นความหมายว่าให้มีทองไหลมาเทมาเหมือนชื่อ  โดยเฉพาะฝอยทองที่มักจะใช้ในงานมงคลสมรสนั้น  มีเคล็ดว่าห้ามตัด  แต่ต้องปล่อยให้เป็นเส้นยาวๆ  เพื่อที่ชีวิตสมรสจะได้ยืนยาวต่อไป
ส่วนเม็ดขนุน  ก็มีชื่อเป็นสิริมงคลที่หมายความว่าจะช่วยให้มีคนสนับสนุน  หนุนหลังให้กิจการงานต่างๆ  สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี  และขนมชั้นก็เหมาะสำหรับคำอวยพรที่ว่า  ขอให้ได้เลื่อนขั้นเลื่อนชั้น  เลื่อนตำแหน่ง  และถ้าจะให้ดี  ขนมชั้นนี้ก็ต้องมี  9  ชั้น  จะได้ก้าวหน้า  เลื่อนขั้นเร็วๆ
ขนมทองเอก  นอกจากชื่อจะเป็นทองแล้ว  ก็ยังมีทองคำเปลวติดอยู่บนขนมด้วย  ซึ่งคำว่าเอกนั้นแปลว่าที่หนึ่ง  การให้ขนมทองเอกนั้นก็เหมือนว่าอวยพรให้เป็นที่หนึ่ง  และขนมจ่ามงกุฎ  ซึ่งหมายถึงการมีเกียรติสูงสุด  เป็นเจ้าคนนายคน  ขนมทั้งสองอย่างนี้ก็จะใช้เป็นการแสดงความยินดีที่ได้เลื่อนตำแหน่ง
และขนมสองอย่างสุดท้ายก็คือ  ขนมถ้วยฟู  ซึ่งหมายถึงการอวยพรให้มีความเจริญรุ่งเรืองเฟื่องฟู  และขนมเสน่ห์จันทน์  ซึ่งใช้ผลจันทน์  จากต้นจันทน์มาเป็นส่วนผสมให้มีกลิ่นหอม  และเชื่อว่าจะทำให้มีเสน่ห์  มีคนรักใคร่  มักจะใช้ในงานมงคลสมรส ทั้งอร่อยทั้งมีความหมายดีๆ  แบบนี้  จะเอาไว้กินเองหรือมอบให้เป็นของขวัญในโอกาสต่างๆ  ก็ไม่เลวเหมือน

เส้นทางสู่อาชีพ > “ลูกชุบ” ไม่ธรรมดา เล็กๆ แต่ทำเงินก้อนโต




“ลูกชุบ” ขนมไทยชนิดนี้ไม่เพียงเป็นที่ชื่นชอบของคนไทย คนรุ่นใหม่ ๆ ยุคนี้ยังเริ่มเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงามน่ารัก อาศัยฝีมือในการประดิดประดอย สีสันที่สดใส และรสชาติที่อร่อยถูกปากคนทั่วไป ทั้ง ๆ ที่เป็นขนมที่ทำจากถั่วเขียวกวนธรรมดา ก็สามารถสร้างเงินและสร้างรายได้อย่างน่าทึ่ง 

วันนี้ทีม “ช่องทางทำกิน” มีข้อมูล “ลูกชุบ” มาบอกกล่าวกัน...

อ.สุปราณี ประเสริฐภักดี อายุ 70 ปี เจ้าของร้าน “บ้านลูกชุบ” เล่าถึงที่มาของอาชีพการทำลูกชุบขายว่า เริ่มทำลูกชุบตอนอายุ 40 ปี ยึดอาชีพนี้มาแล้วกว่า 30 ปี เนื่องจากสามีรับราชการ ต้องย้ายตามสามีไปในหลายจังหวัด มีเวลาว่างก็อยากจะเรียนทำขนมเพิ่มเติม โดยเฉพาะลูกชุบ ขนมที่สนใจและอยากจะทำเป็นมานานแล้ว 

“ที่สนใจลูกชุบเป็นพิเศษก็เพราะเกิดฝังใจ เคยเห็นลูกชุบที่เขาเอามาส่งตามห้าง คิดว่าเป็นขนมที่สวยงามและน่ารักมาก พอซื้อมาทานมันไม่อร่อย รู้สึกผิดหวัง เลยตั้งใจว่าถ้ามีโอกาสได้ทำก็จะทำให้ทั้งสวยทั้งอร่อย ตอนอยู่ต่างจังหวัดก็มีหน่วยศึกษาเคลื่อนที่และชมรมสตรีมาสอนทำอาหาร ก็สนใจและมีโอกาสเรียนทำอาหารคาวหวานหลายชนิด และได้เรียนทำลูกชุบสมใจ พอรู้วิธีการทำแล้วก็ยังไม่ถูกใจอีก ก็ปรับปรุงพัฒนาจนได้สูตรของตัวเอง”

แรก ๆ ก็ทำแจกในหมู่แม่บ้านข้าราชการ พอทุกคนบอกว่าอร่อยแล้ว ถ้าเอ่ยถึง “ลูกชุบพาณิชย์” ต้องรู้กันว่าเป็นของ อ.สุปราณี เพราะตอนนั้นบ้านพักอยู่หลังสำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุดรธานี 

พอมาอยู่กรุงเทพฯ ก็ยกกิจการให้ลูกสาว เปลี่ยนชื่อเป็น “ลูกชุบแซดเอ็น (ZN)” ลูกก็ไปหาตลาดจนได้ มีออร์เดอร์จากเอสแอนด์พีและโรงแรมอีกหลายแห่งทุกเดือน ซึ่งบางเดือนก็มักจะได้รับออร์เดอร์ไปออกงานต่างประเทศ ก็ทำส่งอยู่หลายปี จนปัจจุบันจะไม่มีวางขายตามท้องตลาดทั่วไป แต่จะทำและขายตามออร์เดอร์ที่สั่งเข้ามา

อ.สุปราณียังบอกอีกว่า บ้านลูกชุบเน้นการปั้นด้วยมือ เพราะจะมีความอ่อนช้อยมากกว่าการใช้แม่พิมพ์ และจะปั้นตามจินตนาการของตัวเอง ตอนที่เรียนเขาก็จะสอนให้ปั้นแต่ลูกชมพู่อย่างเดียว ก็มานึกดูว่าอยากจะปั้นอะไร จนได้มาเป็นรูปผลไม้รวม เช่น มะยม แตงโม มะม่วง ชมพู่ ส้ม เชอรี่ มังคุด ฯลฯ 



และจะเพิ่มเติมรูปแบบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับเทศกาล เช่น ปีนี้เป็นปีหมู ก็ได้เพิ่มลูกหมูขึ้นมา ใกล้วันวาเลนไทน์ก็จะเพิ่มรูปหัวใจ และถ้าช่วงตรุษจีนก็จะปั้นเป็นซิ่วท้อ ซึ่งได้รับความนิยมมาก” 

>> การทำ 
วัตถุดิบ-ส่วนผสมตามสูตรก็มี ถั่วเขียวเลาะเปลือก 1/2 กก. ต่อหัวกะทิ 2 ถ้วยตวง และน้ำตาลทราย 1/2 กก. ส่วนวัสดุที่ใช้ก็ได้แก่... กระทะทองเหลือง, ไม้พาย, เตาแก๊ส, ตะเกียบ, ไม้จิ้มฟัน, สีผสมอาหาร, จานสี, น้ำสะอาด, พู่กัน, อ่างน้ำ, กะละมัง, เครื่องบดไฟฟ้า หรือครก, ลังถึง, ผ้าขาวบาง

>> ขั้นตอนการทำ “ลูกชุบ” 
เริ่มจากเลือกถั่วเมล็ดเสีย กรวด หิน ออกให้หมด ล้างน้ำ 1 ครั้ง แล้วแช่ทิ้งไว้ 3-4 ชั่วโมง ล้างอีกครั้ง แล้วนำไปนึ่งให้สุก บดหรือโขลกให้ละเอียด แล้วจึงนำถั่วที่บดแล้วใส่ลงไปในกระทะทองเหลือง

นำน้ำตาลทรายและกะทิมาต้มด้วยไฟอ่อนให้ส่วนผสมละลายเข้ากันดี ต้องคนตลอดเวลาไม่ให้กะทิเป็นลูก 

นำถั่วบดยกขึ้นตั้งไฟปานกลาง ค่อย ๆ ทยอยใส่น้ำกะทิลงกวนทีละน้อยจนหมด การกวนให้กวนไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ถั่วเหนียว กวนถั่วไปเรื่อย ๆ จนถั่วกวนเริ่มแห้ง ควรหรี่ไฟให้อ่อนลง เมื่อแห้งจนจับเป็นก้อน และล่อนจากกระทะสักครู่ใหญ่ ๆ จึงยกลงจากเตา พักไว้ให้คลายร้อน นวดจนเนียน 

“หากชอบกลิ่นควันเทียน ก็ให้นำถั่วกวนที่ได้ไปอบควันเทียนไว้สัก 3-5 ชั่วโมง” 

เสร็จแล้วนำมาปั้นเป็นรูปผัก ผลไม้ หรือสัตว์ ตามชอบได้เลย



>> การปั้น 
แบ่งถั่วตามขนาดที่จะปั้น ระหว่างที่ปั้นควรคลุมถั่วด้วยผ้าขาวบางชุบน้ำบิดหมาด ๆ เพื่อกันไม่ให้ถั่วแห้ง ปั้นเสร็จก็เสียบกับไม้จิ้มฟันปลายแหลม ระบายสีให้ใกล้เคียงกับของจริง 

“การลงสีอย่าพยายามลงสีฉูดฉาด ให้ลงสีอ่อน ๆ เลียนแบบธรรมชาติ” 

ระบายสีเสร็จก็เสียบไว้กับโฟม ทิ้งให้สีแห้ง จากนั้นก็นำไปชุบ “น้ำวุ้น”

>> วิธีทำ “น้ำวุ้น” 
ใช้วุ้นผง 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ถ้วยตวง น้ำตาลนิดหน่อยเพื่อความวาว นำส่วนผสมใส่หม้อคนให้เข้ากัน แล้วยกขึ้นตั้งไฟกลาง ๆ หมั่นคนจนวุ้นใสเหนียว ยกลงทิ้งไว้สักครู่จะมีฟองสีขาวลอยขึ้น ให้ช้อนฟองทิ้ง 

นำถั่วที่ปั้นและระบายสีแล้วชุบกับส่วนผสมวุ้น 1 ครั้ง ปักบนโฟมให้แห้ง แล้วจึงชุบครั้งที่ 2 และ 3 ทิ้งไว้ให้แห้ง เมื่อวุ้นแข็งตัวดีแล้วจึงถอดออกจากไม้จิ้ม ใช้กรรไกรตัดส่วนที่ไม่ต้องการทิ้ง ตกแต่งด้วยใบแก้วให้สวยงาม

>> การขาย 
ทางบ้านลูกชุบจะคิดราคาเป็นชุด ๆ ซึ่งแต่ละชุดจะแตกต่างกันไปตามปริมาณและบรรจุภัณฑ์ มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นตะกร้าหวาย ถาดเงิน ถาดทอง ถาดหวาย กล่องพลาสติก เข่งไม้ไผ่ ถาดประดิษฐ์ใบตอง ฯลฯ โดยจะมีราคาตั้งแต่ 60-3,000 บาท แล้วแต่ว่าลูกค้าต้องการแบบไหน ขนาดเท่าไหร่ 

ใครสนใจอยากจะสั่งซื้อหรือลองชิม “ลูกชุบ” ของ อ.สุปราณี ร้านบ้านลูกชุบ ติดต่อไปได้ที่ เลขที่ 33 ซอย 50 ถนนจรัญสนิทวงศ์ กรุงเทพฯ 10700 โทร. 0-2424-8606 

“ลูกชุบ” ลูกเล็ก ๆ ก็ทำเงินก้อนโตได้
ขนมครกชาววัง

จุดเด่น ชิ้นใหญ่ กรอบอร่อย

อาจารย์จินดามาศ ทินกร วิทยากรศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน ผู้เชี่ยวชาญขนมครก กล่าวว่า จำหน่ายขนมเมนูนี้ มากว่า 40 ปี สูตรที่ใช้เป็นสูตรโบราณตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น แต่ปัจจุบัน เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย นำส่วนผสมมาดัดแปลงเล็กน้อย ทว่ารสชาติ และรูปลักษณ์ยังคงเดิม “ขนมครกเมื่อก่อน สูตรดั้งเดิมนำข้าวสาร มาผสมข้าวสุกค้างคืนแล้วโม่ เพื่อให้มีความนิ่ม แต่ข้อเสียคือ ทำให้เสียไว ปัจจุบัน สะดวกสบาย เนื่องจากมีแป้งสำเร็จรูปจำหน่าย ช่วยลดความยากลงไปได้พอสมควร ส่วนหน้าที่ใช้โรยก็มีความหลากหลายมากขึ้น”

วัตถุดิบสำคัญของขนมครก ที่วิทยากรพูดถึงคือ แป้ง มีด้วยกัน 2 รูปแบบคือ แป้งสด และแป้งแห้ง ถามผู้เชี่ยวชาญได้ใจความว่า แป้งสดคือ แป้งที่ต้องทำเองไม่มีวางจำหน่าย อันมีส่วนผสมของข้าวสารเก่า ข้าวสวยกลางปีสุกค้างคืน ถั่วทอง หรือถั่วเขียวเลาะเปลือก นำมาโม่ด้วยเครื่อง วิธีการ นำข้าวสารเก่าแช่น้ำค้างคืน ไปโม่พร้อมข้าวสุกและถั่วทอง เหตุที่ไม่ใช้ข้าวใหม่ เพราะแป้งจะเหนียว เวลาแคะออกจากเบ้าจะไม่ค่อยล่อน ส่วนแป้งแห้งคือ แป้งสำเร็จรูปที่ขายทั่วไปตามท้องตลาด โดยความแตกต่างของแป้งทั้งสองนี้คือ แป้งสด เนื้อขนมจะละเอียดและหอม แต่แป้งแห้งจะให้ความสะดวกมากกว่า

นอกจากแป้งจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของขนมครก ยังมีกะทิที่ใช้ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เลือกซื้อมะพร้าวสำหรับทำขนมมาขูด แล้วคั้นเพื่อให้ได้น้ำกะทิที่สดใหม่ จากนั้นผสมเกลือป่นเล็กน้อย การทำเช่นนี้จะทำให้ได้กะทิที่หอม นอกจากนั้น ยังมีความเข้มข้นมากกว่ากะทิกล่อง แต่หากเลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้ใช้ยี่ห้ออร่อยดี เนื่องจากกลิ่นจะหอมแบบธรรมชาติ

อีกสิ่งที่จะช่วยเพิ่มรสชาติ ให้ขนมครกกรอบอร่อย นั่นคือ ขนาด วิทยากร เผยว่า ควรเลือกใช้เบ้าขนมครกที่มีขนาด 15 เบ้า เฉลี่ยหลุมละประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เซนติเมตร เวลาเทแป้ง ให้เท 3/4 ของเบ้า จากนั้นใช้กระบวยหน้ากว้าง 5 เซนติเมตร กดให้แป้งล้นขึ้นมา ประมาณ 1 เซนติเมตร เติมหางกะทิ ตามด้วยหัวกะทิ บริเวณที่ล้นเรียกว่าขอบ ซึ่งจะมีความกรอบ และแลดูชิ้นใหญ่ ลักษณะนี้รวมเรียกขนมครกชาววัง “เบ้าขนมครกที่วางขายทั่วไป มีตั้งแต่ขนาด 15 เบ้า 22 เบ้า และ 28 เบ้า อยากให้เลือกใช้ขนาด 15 เบ้า เนื่องจากชิ้นใหญ่ทำออกมาเฉลี่ยชิ้นละประมาณ 7 เซนติเมตร ซึ่งผู้บริโภคจะรู้สึกคุ้มค่า ต่างจากขนาดเล็กประมาณเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เซนติเมตร”

ลำดับต่อมา ด้านรสชาติ อาจารย์จินดามาศ เผยว่า ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ไม่นิยมรับประทานหวาน ดังนั้น อยากให้ผู้ประกอบการ ทำรสชาติแบบกลมกล่อม ไม่หวานจัด หรือเลี่ยนเกินไป ส่วนหน้าที่โรยยอดนิยม ได้แก่ ต้นหอม ผักชี ข้าวโพด เผือก ลูกตาล ถ้ายังไงสามารถนำไปดัดแปลงเพิ่มเติมได้



ลงทุน 3,000 บาท

ขายดีทุกวัน ไม่มีวันหยุด

ถึงตรงนี้ ถามผู้เชี่ยวชาญ ถึงจำนวนเงินลงทุน ได้ความว่า เงินที่ใช้ลงทุนขายขนมครกต่ำสุด เฉลี่ยใช้เงินประมาณ 3,000 บาท แบ่งเป็นค่าอุปกรณ์ 2,500 บาท ได้แก่ เตาไฟ 2 หัว เป็นเตาเหล็ก 1,500 บาท เบ้าขนมครก 1 ใบ ราคา 600 บาท กาหยอดขนมครก 60-100 บาท เตาแก๊ส 300 บาท ค่าวัตถุดิบ อาทิ แป้ง กะทิ น้ำตาลโตนด เกลือ จานกระดาษไว้ใส่ขนม ทั้งสิ้น 300 บาท แถมเหลือเป็นเงินหมุนเวียนจำนวนหนึ่ง “3,000 บาท หลักๆ ได้อุปกรณ์การขายและวัตถุดิบจำนวนหนึ่ง แต่จะไม่รวมอุปกรณ์เล็กๆ น้อยๆ อาทิ กะละมังผสมแป้ง ทัพพี ช้อน ของจุกจิกในครัว เนื่องจากแต่ละบ้านมักมีอยู่แล้ว”

เมื่อทราบว่าต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่ ต่อมาถึงรูปแบบการขาย วิทยากร ระบุว่า สามารถวางจำหน่ายได้ทั้งรถเข็น และตั้งโต๊ะ ขึ้นอยู่กับเงินทุน ถ้าเป็นรถเข็น คันละประมาณ 5,000 บาท ถ้าเลือกตั้งโต๊ะ สามารถเลือกวัสดุได้ตามกำลัง เลือกขนาดโต๊ะให้กว้าง 3 ฟุต ขึ้นไป ส่วนทำเลที่แนะนำ ยังคงอยู่ย่านตลาดสด ตลาดนัด งานวัด งานประจำปี ชุมชน หอพัก บริษัทห้างร้าน ป้ายรถประจำทาง หน้าร้านสะดวกซื้อ โรงพยาบาล หมู่บ้านจัดสรร สถานศึกษา หรือหากใครมีร้านอาหารอยู่แล้ว นำไปเสริมเป็นของหวานได้ ส่วนวัน และช่วงเวลาขาย ไม่มีกฎเกณฑ์ใดๆ ขายได้ทุกวัน ตั้งแต่เช้า ไปจนค่ำมืด



คล้ายว่าขั้นตอนขนมครกไม่มากมายนัก ทว่าสิ่งใดที่ยากที่สุด อาจารย์จินดามาศ เผย อยู่ที่เทคนิคการหยอด บรรดามือใหม่ ควรใช้ช้อนหรือกระบวย ไม่ควรใช้กาหยอด เนื่องจากน้ำหนักมือยังไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลให้กะปริมาณไม่ถูก อีกทั้งเวลาแคะ เพื่อไม่ให้เสียของ ต้องใจเย็นรอจนกว่าขนมจะสุก “ลงทุนครั้งหนึ่ง ประมาณ 300 บาท ซื้อแป้งสำเร็จรูป 1 กิโลกรัม มาผสมกับ น้ำกะทิ น้ำสะอาด น้ำปูนใส น้ำตาลโตนด เกลือ จะได้แป้งสำหรับหยอดขนมครก 3 กิโลกรัม แป้งจำนวนนี้สามารถหยอดขนมครก ขนาด 15 เบ้า ได้ 24 กระทะ หากแคะไม่เสีย จะได้ขนมครก ทั้งหมด 360 ชิ้น จำหน่ายชิ้นละ 2 บาท รวมแล้วเป็นเงิน 720 บาท หลังหักค่าใช้จ่าย ได้กำไรเกินครึ่ง”

นอกจากขนมครกจะลงทุนต่ำ ขายได้กำไรดีแล้ว ข้อได้เปรียบอีกอย่างคือ วัตถุดิบหาซื้อได้ง่าย ส่วนผสมทุกอย่าง ซื้อได้ที่ตลาดสด ร้านขายของชำ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรรพสินค้าทั่วไป ไม่เหมือนกับอาชีพบางชนิด ที่ต้องมีร้านประจำ เช่น ขายอาหาร หรือผลไม้

อีกเทคนิคการขายที่อาจารย์จินดามาศ แนะนำ คือรสชาติต้องคงที่ วัตถุดิบสดใหม่ สถานที่จำหน่ายสะอาด มีหลากหลายไส้ให้เลือกรับประทาน พูดจาไพเราะกับลูกค้า ตั้งใจขาย ไม่หยุดบ่อย จะทำให้ได้ลูกค้าประจำ จากนั้นจะเกิดการบอกปากต่อปาก

ก่อนยุติเนื้อหา อาจารย์จินดามาศนำสูตรการทำขนมครกชาววัง มาให้ทดลองทำ และย้ำว่า โอกาสในการขายขนมชนิดนี้ ยังมีพื้นที่อีกมาก เนื่องจากปัจจุบัน คนยังนิยมบริโภคขนมชนิดนี้อยู่ สนใจสอบถามเนื้อหา หรือเข้ารับการอบรม ติดต่อ ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน โทรศัพท์ (02) 589-2222, (02) 589-0492 และ (02) 954-4999 ต่อ 2100, 2101, 2102 และ 2103



วัตถุดิบตัวแป้งขนมครก

ส่วนผสม

แป้งข้าวเจ้าอย่างดี ตราดอกไม้ 1 กิโลกรัม
น้ำกะทิ 4 ถ้วยตวง
น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง
น้ำปูนใส 2 ถ้วยตวง
น้ำตาลโตนด 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 1 ช้อนชา
โรยหน้าตามใจชอบ อาทิ ต้มหอม ข้าวโพด เผือก ฯลฯ
วิธีผสมแป้ง

ค่อยๆ เทแป้งข้าวเจ้า ลงผสมกับน้ำสะอาด น้ำปูนใส คนจนกว่าจะเข้ากัน จากนั้นเติมกะทิ น้ำตาลโตนด เกลือป่น แล้วคนให้เข้ากันดี

กะทิหน้าขนมครก